งานสมรส

29,223 views
หัวข้อน่าสนใจ

พิธีสมรส เมื่อหมั้นหรือแต่งงาน กวรนำเวลา วัน, เดือน, ปีเกิดของคู่สมรสไปให้โหรคำนวณหาฤกษ์เสียก่อน ฤกษ์วันเวลาขันหมากออกจากบ้าน ฤกษ์รดน้ำสังข์ ฤกษ์ส่งตัวเรียงหมอน

การสมรสมี 2 อย่าง ๆ หนึ่งเรียกว่า อาวาหมงคล คือหญิงมาอยู่บ้านชาย อีกอย่างหนึ่งวิวาหมงคล คือชายไปอยู่บ้านหญิง

ฝ่ายชายเมื่อทราบกำหนดวันแล้ว ก็จะจัดขันหมากหมั้น ๆ มี ๒ ข้น ๆ หนึ่งใส่ของที่จะไปหมั้น (จะเป็นของหรือเงิน, ทอง, นาก, เพชร, แล้วแต่จะตกลงกัน แต่สมัยนี้นิยมแหวนหมั้น) กับถุงถั่วเขียว ๑ ถุง ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใส่ในขันของหม้น มีผ้าแพรคลุม ๑ ขัน เรียกว่า “ขันหมั้น ขันหมาก มีหมาก ๙ ผล ตัดเป็นระแง้เดียวกัน หรือจะตัดเบ็นระแง้ละ ๒ ผลก็ได้ผ่านทางกั้นหมากออกแล้วทาชาด พลู ๔ เรียง ๆ ละ ๘ ไบ เมื่อเรียงแล้วตัดก้านให้เสมอ ทาชาดที่ก้านพลูที่รอยตัด แล้วใส่ลงในขันผ้าคลุม นี่เบ็นข้นหมาก แล้วจัดหาคนเชิญข้นหมากไว้ให้พร้อม และเชิญผู้เฒ่าที่นับถือนำข้นหมากไปหมั้นตามเวลาฤกษ์ที่โหรให้ไว้ชายหญิงจะต้องหาเฒ่าแก่ไว้รับข้นหมากหมั้น และของแถมพกเฒ่าแก่ที่นำของมาหมั้นกับคนเชิญขันหมากของหมั้น ถ้าของหมั้นนั้นเป็นเงิน เผ่าแก่ฝ่ายหญิงจะต้องนับกูให้ครบถ้วนตามที่ตกลงกันไว้ ถ้าเป็นทองก็ต้องชั่ง แต่สมัยนี้โดยมากเป็นแหวน ตัวผู้ชายควรสวมนิ้วให้กับหญิงเบ็นพิธีหมั้นเอง

ขันหมากแต่ง มีชันหมาก ๓ ข้น ใส่หมากพลูเหมือนขันหมากหมั้น ๒ ข้นมีผ้าคลุม อีก ๑ ข้น ใส่สินสอดตามที่ได้ตกลงกันไว้ แค่นิยมใส่เกินสักนิดหน่อย เช่นตกลงกันเป็นพันเป็นร้อยก็ดี เมื่อนำเงินนั้นลงใส่ขัน ต้องเติมลงไปอย่างน้อยจะ ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เพ้องก็ได้แต่ต้องใส่เกินไว้เป็นดี เมื่อเวลาเฒ่าแก่ผายหญิงนับเงินจะได้ร้องว่าเงินเกินหรืองอกได้เบ็นเคล็ดที่ดี ขันสินสอดต้องใส่ถั่วเขียว, งาดำ, ข้าวเปลือก, ข้าวตอก, ใบเงิน, ใบทอง, ใบนาก, เหมือนขันหมากหมั้น (หมากหรือพลูจะใส่ให้มากกว่านี้ก็ได้เว้นแต่ต้องเบ็นคู่ ๆ) ธูปเทียน, ผ้าขาวไหว้ผี ส่วนผ้าไหว้บิตามารตาและญาติชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง จะเบ็นกี่ดูก็ตามแต่จะตกลงกันทั้งสองผ่าย เมื่อทราบจำนวนก็จัดใส่พานนำไปพร้อมกับขันหมาก ต้องจัดหาคนเชิญไว้ให้พร้อมพอได้ฤกษ์ ผู้ที่เบ็นเฒ่าแก่จะไต้นำไป ถ้ามีกันขันหมากควรห่อเงินเตรียมไปด้วย ฝ่ายหญิงจะต้องหาเต็กเชิญพานหมากลงไปเชิญเฒ่าแก่ให้ขึ้นเรือนผ่ายหญิง และมีคนรับขันหมาก ขันสินสอด ต้องมีแถมพกแก่เฒ่าแก่และคนเชิญขันหมาก ขันสินสอดพานผ้าจนครบทุกคนจะเป็นของสิ่งใดก็ได้ตามแต่จะจัดหาไว้วันและฤกษ์ที่จะยกขันหมากไปนี้ ต้องให้โหรเบ็นผู้กะให้ วันที่ยกขันหมากนี้เรียกว่า วันแต่งงาน แต่ฤกษ์นั้นจะเบีนเวลาใดตามแต่โหรจะกำหนดให้ แต่ต้องเบ็นฤกษ์ภายในวันนั้นส่วนพิธีที่จะต้องทำในวัน คือ….

ตอนเช้า คู่สมรสต้องตักบาตรพระที่มาฉันเช้า ตักด้วยทัพพีอันเดียวกัน ถ้าหญิงจับข้างบน หญิงมีอำนาจเหนือชาย ถ้าชายจับข้างบน ชายมีอำนาจเหนือหญิง เบ็นเคล็ดที่เขาชอบสังเกตเป็นประเพณีนิยมกันมาพอถึงเวลาเย็นคู่สมรสจะต้องนั่งนั่งพระสวดมนต์เย็น เวลานี้จะต้องมีเพื่อนบ่าวสาวนั่งเบ็นเพื่อนอยู่ด้วย เมื่อพังพระสวตมนด์จบแล้วก็ประเคนของไทยทานแก่พระสงฆ์ตามที่จัดหาไว้ตามแต่ความศรัทธา

เมื่อถึงฤกษ์รดน้ำ คู่สมรสต้องขึ้นนั่งบนที่ขัดไว้ หันหน้าไปสู่ทิศที่โหรกะ ให้ชายนั่งขวาหญิงนั่งช้าย ท่านผู้ใหญ่ที่ ได้รับเชิญเบ็นประธานในงานนี้ จะได้สวมมงกลคู่ให้ศีลให้พรเมื่อสวมมงกลแล้ว พราหมณ์หรือโหรเบ็นผู้ส่งสังข์ให้หลั่งน้ำพระพุทธมนต์ และเทพมนต์เบ็นการเริ่มต้นรดน้ำ แขกที่ได้รับเชิญมาจะได้เข้ารดน้ำต่อๆ ไปเบ็นลำดับ แล้วบิดามารดาวงศ์ญาติ จึงจะเข้ารดน้ำ เมื่อเสร็จแล้วพราหมณ์หรือโหร จึงหลังน้ำสังข์ประสาทพรเบ็นมงคลแห่คู่สมรส เป็นที่สุด ตอนนี้เขาคอยสังเกตกัน ถ้าชายลุกขึ้นปลดมงคลก่อน ชายมีอำนาจเหนือหญิง ถ้าหญิงลุกขึ้นปลดมงกลก่อน หญิงมีอำนาจเหนื่อ ชาย เมื่อเวลาแขกรดน้ำกลับ ต้องมีของแจกจะเบ็นมาลัยหรือบุหงา ผ้าเช็ดหน้าก็ได้ตอนค่ำจะมีเลี้ยงก็ใด้ไม่มีก็ได้ แต่การเลี้ยงเป็นที่แนะนำให้รู้จักกันทั้งสองฝ่าย และ เบ็นการอวดเจ้าสาว ตอนเลี้ยงอาหารแล้ว คู่สมรสควรแจาของแก่ผู้ที่มารับประทานอาหาร และตอนค่ำนี้จะต้องไหว้บิดามารดา บิดามารดาจะต้องหาของรับไหว้เจ้าบ่าวเจ้าสาวตามฐานะ

สิ่งของที่ฝ่ายชายจะต้องเตรียม

๑. เฒ่าแก่นำข้นหมากหม้นมี_

(ก) ขันใส่เงินหรือของหมั้นพร้อมด้วย ข้าวเปลือก, ข้าวตอก, ถั่วเขียว, งาดำ, ใบเงิน, ใบทอง, ใบนาก ๑ ขัน

(ข) ข้นหมาก ๒ ข้น ใส่หมากข้นละ ๘ ผล พลูข้นละ ๔ เรียง เรียงละ ๘ ใบ (ขันหมากแต่งนี้มี ๓ ข้น นำไปเวลาแต่งตามฤกษ์ที่โหรกำหนดให้)

๒. คนยกขันหมาก คนยกพานผ้าไหว้

๓. เจ้าบ่าวเพื่อนเจ้าบ่าว

๔. พานผ้าไหว้

๕. เตรียมเงินค่ากันประตูใส่ข้นนำไปด้วย

๖. ถ้าส่งเจ้าสาวมาบ้านเจ้าบ่วว (อาวาหมงคล) ต้องเตรียมของแถมพก เพื่อนเจ้าสาวไว้ด้วย

สิ่งของที่ฝ่ายหญิงจะต้องเตรียมตอนหมั้น

๑. ของแถมพกเฒ่าแก่ที่นำขันหมากมาหมั้น และคนเชิญขันหมั้น ๒ คน

๒. เฒ่าแก่รับของหมั้น

๓. อาหารเลี้ยงเฒ่าแก่และผู้ที่มาในงานหมั้นตอนแต่ง

๔. เครื่องตักบาตรตอนเช้าและอาหารเลี้ยงพระ

๕. เฒ่าแก่รับขันหมากแต่ง เด็กเชิญพานหมากสำหรับเชิญเฒ่าแก่ที่นำชันหมากแต่งมา

๖. ของแถมพกเฒ่าแก่ที่นำขันหมาก รวมทั้งคนที่เชิญข้นหมากและผ้าไหว้

๗. เพื่อนสาว (นิยมเลือกบริสุทธิ์) เครื่องแต่งตัวพังสวดมนต์และรดน้ำ เครื่องบริขารถวายพระ สำหรับเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะได้ถวายในเวลวเย็น

๑๐. เครื่องรดน้ำ มีหม้อน้ำ ๓ หม้อ คือ หม้อเงิน, หม้อทอง, หม้อสัมฤทธิ์ สังข์มังศรี, ข้นรองน้ำที่รด

๑๑. พราหมณ์หรือโหรสำหรับส่งสังข์

๑๒. มงคลคู่สวมเวลารดน้ำ

จ๓. เตรียมตบแต่งที่รดน้ำหรือห้องหอ

๑๔. ของแจกผู้ที่มารดน้ำ มีมาลัย บุหงา ผ้าเช็ดหน้า ช่อดอกไม้

๑๕. คนปูที่นอนเรียงหมอน (ประเพณีนิยมเลือกผู้ที่แต่งงานครั้งเดียว และอยู่ด้วยกันมาเป็นอย่างดีจนแก่เฒ่า) พักและหินบด

๑๖. เครื่องเรือนต่าง ๆ อาหารเลี้ยงแขกตอนค่ำ พร้อมทั้งของแจกผู้ที่มารับประทาน

๑๘. ถ้าส่งตัวเจ้าบ้าว (วิวาหมงคล) ต้องมีของแถมพกเพื่อนเจ้าบ่าว ดอกไม้ธูรูปเทียนสำหรับไปไหว้วงศ์ญาติเมื่อแต่งงานแล้ว (การแต่งงานโดยมากถือไม่แต่งวันพฤหัสบดี)

credit cover

หัวข้อน่าสนใจ