บุตรชายที่มีอายุครบ ๒๑ แต่ก่อนเบ็นประเพณีบิตามารดามัจะจักแจงให้บุตรอุปสมบท แต่เดี๋ยวนี้ผู้ชายอยู่ในเกณฑ์นี้ โดยมากมักอยู่ในเวลาเล่าเรียน และเมื่อเรียนสำเร็จแล้วก็ต้องหาอาชีพให้เบ็นหลักฐานเสียก่อน แล้วจึงได้อุปสมบท ชายที่จะอุปสมบทได้จะต้องมีอายุครบ ๒๑ ปี ขึ้นไป ก่อนอุปสมบทต้องมีพานดอกไม้ธูปเทียนและการ์ดไปเที่ยวลาวงศ์ญาติทั้งท่านที่เคารพนับถือ และต้องท่องสวดมนต์ ขานนาค เมื่อถึงวันอุปสมบทควรสมาทานศีลห้า เสียก่อนแต่เช้า พอ ๑๐ นาฬิกาเศษ ก็โกนผมชำระกายฟอกสบู่ ทาขมิ้นเพื่อทำให้ผิวเนื้อเข้ากับผ้าเหลืองแลดูงาม จะกระทำให้บิดามารดาวงศ์ญาติเห็นงามบังเกิดความบีติยิ่งขึ้น พอเพลแต่งตัวเสร็จแล้วก็ลงมือทำขวัญนาค ต้องมีคนทำขวัญ กล่าวตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงบวช พรรณนา คุณบิดามารดาให้พัง เวลาทำขวัญต้องมีบายศรีใบตอง ๕ ชั้น บายศรีปากชาม ขนมมะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำ คล้ายกับทำขวัญโกนจุก เมื่อทำขวัญเสร็จแล้วเวียนเทียน ระหว่างเวียนเทียนต้องมีโห่และลั่นฆ้องชัย มีบีพาทย์หรือดนตรีก็เริ่มทำเพลงเวลานี้ การเวียนเทียนเวียนซ้ายมาขวาจนครบ ๕ รอบ เสร็จแล้วแห่นาคไปวัด เมื่อนาคจะออกจากบ้านโห่เอาฤกษ์เสีย ๓ ลา จะมีเครื่องกระบวนแห่ด้วยก็ได้ ขณะไปวัดนี้ บิดาต้องอุ้มบาตร มารตาอุ้มไตรครอง ญาติพี่น้องถือเครื่องอัฏฐบริชาร และไตรอุบัชฌาย์ไตรกรรมวาจา พุ่มเทียน ของถวายพระอันดับ ก่อนจะเข้าโบสต์ต้องเวียนโบสด์ ๓ รอบ ให้นาควันทาเสมาแล้วโปรยทาน บิดามารดาก็จูง นากเข้าโบสถ์แล้ววันทาพระประธาน บิดามารดาให้ไตร นำเข้าไปขอบรรพชาต่ออุปัชฌาย์เมื่อออกมาครองผ้า พวกบีพาทย์ดนตรี แตรสังข์จะได้ทำขึ้นพร้อมกัน เมื่อบวชเสร็จแล้ว ก็ออกมารับของถวายจกญาติพี่น้องและแขกที่เชิญไป แล้วก็ตรวจน้ำเพื่อแผ่ส่วนกุศลที่ได้อุปสมบทไปให้แก่ญาติพี่น้องทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนผู้ที่จะเบ็นโยมอุปฐากต่อไปก็ควรปวารณาตัวเสีย เผื่อพระขาดเหลือสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็จะได้จัดบิณฑบาตมา
ส่วนการฉลองนั้น จะฉลองในวันรุ่งขึ้นหรือเวลาใดก็ได้แล้วแต่สะกวก ก่ารฉลองก็นิมนต์พระมาสวดมนต์เย็นฉันเช้า จะนิมนต์ ๕-๗-๙- ๑๖ องค์ ก็ได้ แล้วนิมนต์พระบวชใหม่มาด้วย ในการนี้จะมีบีพาทย์ การเล่นรื่นเริงต่าง ๆ ก็ได้ภายในกลางคืนหรือฉันเช้าแล้วตอนเช้าต้องเตรียมของไว้ใส่บาตรให้พระบวชใหม่ตักบาตรก่อน แล้วผู้อื่นจึงตักต่อไป เมื่อเวลาฉันเช้าพระบวชใหม่ฉันด้วย เสร็จแล้วให้พระบวชใหม่ถวายของไทยทานแก่พระสงฆ์ ที่สวดมนต์ฉันเช้าทุก ๆ องค์ การฉลองพระนั้น จะสวดมนต์เย็นก่อน แล้วฉันเช้าหรือฉันเช้าวันนั้นสวดมนต์เย็น วันนั้นก็ได้แล้วแต่สะดวก ตอนกลางวันหรือบ่ายควรมีเทศน์บอกอานิสงส์บรรพชา ๑ กัณฑ์
ของเครื่องใช้ควรหาเรียมไว้ในการอุปสมบทนาค
เครื่องแต่งตัวนาคมี
(๑) ผ้าสำหรับนุ่ง
(๒) เสื้อครุย
(๓) เข็มขัด
(๔) เสื้อชั้นใน
(๕) แหวน
เครื่องอุปสมบท
(๑) ไตรครองและเครื่องอัฏฐบริชาร ๘ (มีสบง, จีวร, สังฆาฏิ, บาตร,
กล่องเข็ม, หม้อกรองน้ำ, มีด)
(๒) ไตรอุบัชฌาย์ ไตรคู่สวด
(๓) ของถวายพระอันตับ ๒๕ องค์ เช่นหมากพลูธูปเทียน ๆ
(๔) พานดอกไม้ธูปเทียนถวายอุบัชฌาย์คู่สวด และเทียนชอนิสัย
(๕) กรวยอุบัชฌาย์, ดอกไม้คลุมบาตร
(๖) เครื่องใช้มีสำรับคาวหวานและบริขารอื่น ๆ ที่ควรมีไว้ให้พระใช้
(๕) มุ้ง, หมอน, ที่นอนไม่ใส่นุ่นหุ้มผ้าเหลือง
(๘) ถุงตะเดียว
(๔) ดอกไม้คลุมเทียนถวายอุบัชฌาย์และคู่สวด
(๑๐) เงินสำหรับโปรยทานเมื่อเข้าโบสถ์
(๑๑) ที่สำหรับตรวจน้ำให้พระใหม่ตรวจ
เครื่องทำขวัญนาค
(๑) มะพร้าวอ่อนปอกงาม ๆ ๑ ผล ใส่พานหรือจานเชิง
(๒) กล้วยน้ำ ๑ หวี
(๓) ขนมต้มแดงต้มขาว, ทองหยิบเบียกปูน, ขนมชั้น, ขนมถ้วยฟู, สังขยา เหล่านี้ หรือจะใช้ขนมอื่น ๆ ก็ได้แต่อย่าขาดต้มแดงต้มขาว จะได้ไว้ใส่บายศรี
(๔) แว่นเวียนเทียน ๓ แว่น เทียนติดแว่น ๆ ละ ๓ เล่ม
(๕) ใบพลูสำหรับดับเทียน ๓ ใบ
(๖) โถกระแจะ ๑ โถ
(๗) ขันพานรองใส่ข้าวสารสำหรับปักแว่น
(๘) บายศรี, ผ้าคลุมบายศรี, ม้างาม ๆ ตั้งเครื่องทำขวัญ
(๙) คนว่าทำขวัญ, เทียนชัยจุดเวลาทำขวัญ, ฆ้องชัย
(๑๐) จะมีพราหมณ์อ่านโองการ พระพรหม, พระเวทย์ด้วยก็ได้
(๑๑) ถ้าจะฉลองทีเดียว ต้องเตรียมของถวายพระ ให้พระบวชใหม่ถวายตอนเช้า
(๑๒) ของฝาบาตร ของเลี้ยงพระตอนเช้าคาวหวาน