การทำขวัญเดือนเด็กนั้น ต้องทำเมื่ออายุได้ ๑ เดือน บิดามารดาควรจักการทำขวัญเดือน การทำขวัญเดือนนี้ใหญ่กว่าการทำขวัญวัน ก่อนจะทำพิธีต้องนำ บี, เดือน, วัน เวลาของเด็กเกิดไป ให้ โหรหาฤกษ์กำหนดวันเวลาที่จะทำขวัญ เมื่อถึงกำหนตฤกษ์ก็นิมนต์ พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์เย็น และเตรียมเครื่องเข้าพิธี มีพราหมณ์และโหรบูชาฤกษ์มีศีรษะสุกร ๑ ศีรษะ เครื่องกระยาบวด ๑ สำรับ เบ็ด ๑ ตัว ไก่ ๑ ตัว บายศรีปากชาม ๑ สำรับและนำเอาหม้อรกที่เก็บไว้มาเข้าพิธีด้วย โหรมีหน้าที่นำหม้อน้ำมนต์ และหม้อรกเมื่อพระสวดมนต์เย็นแล้ว กับมะพร้าวเงินมะพร้าวทองนำไปทำพิธีฝั่งรก ทั้งต้องปลูกมะพร้าวเงินมะพร้วทองเบ็นของเสี่ยงทายและใช้น้ำมนต์นั้นพรมมะพร้าวที่ปลูกและหม้อรก เพื่อให้มะพร้าวเงินมะพร้าวทองงอกงาม เด็กจะได้มีความสุขสมบูรณ์ ก่อนจะเริ่มพิธีผึ้ง โหรจะต้องนำแบังหอมน้ำมันหอมผัง ข้าวตอกดอกไม้กฤษณา จวงจันทร์ ธูปเทียนบูชา บวงสรวงแก่เทพตาเดินหน พฤกษเทวดา ภูมิเทวดาเสียก่อน คนที่จะถือของไปกับโหรต้องตั้งชื่อตามนี้
คือ (๑) นายบุญมัน (๒) นายบุญคง (๓) นายบุญอยู่ (๔) นายบุญมี ถ้าหาคนที่มีชื่อตามนี้ ได้ก็ยิ่งดี หม้อรถและมะพร้าวเงินทองนี้ต้องผังตามทิศที่ โหรกะให้ ต่อนี้ไปจะได้บรรยายพิธีของพราหมณ์ มีขันใหญ่ใส่น้ำพระพุทธมนต์และเทพมนต์ พราหมณ์จะได้กระทำน้ำมนต์ คือ น้ำสังข์หลังลงในขันน้ำมนต์และใส่ใบมะตูม อ่านพระเวทย์ตามพิธี ไสยศาสตร์ วนถึงฤกษ์พี่เลี้ยงนางนมจะได้เชิญเด็กน้อยมายังหน้าพระสงฆ์ โหรจะได้จัดให้เด็กผินหน้าไปสู่ทิศตามศรีของวัน พอถึงฤกษ์เชิญท่านผู้ใหญ่หลั่งน้ำสังข์ที่ศีรษะเด็กเบ็นมงคลฤกษ์ แล้วลงกรรไกร ตัดที่ศีรษะเด็ก ขณะนี้พระสงฆ์จะได้สวดชยันโต พราหมณ์เบ่าสังข์ตี ไม้บัณเฑาะว์ โหรบูชาฤกษ์พร้อมกันทุกอย่าง ถ้ามีเครื่องนตรีบีพาทย์ก็บรรเลงเพลงอวยพรชัยให้พร เมื่อเสร็จ พิธีตัตผม (ตอนนี้จะเชิญท่านผู้ใหญ่มาตัดผมสามคนหรือแต่คนเดียวก็ ได้ เพราะผมนั้นแบ่งเป็น ๓ หย่อม) แล้วควรมอบให้ช่างผู้ชำนาญโกนผมไฟต่อไป ผมที่ โกนนั้นใส่ใบบัวหรือใบบอนซึ่งทำเป็นกระทงมีใบบอนรองใส่ในพาน เมื่อช่างได้โกนผมไฟเสร็จแล้ว ผมนั้นต้องนำไปลอยน้ำพราหมณ์จะได้รับเด็กไปลงอ่างอาบน้ำมนต์ บิดามารดาควรนำของมีค่าใส่ลงในอ่างอาบน้ำมนต์ เช่น ทอง, เงิน, เพชร เป็นต้น พราหมณ์อ่านพระเวทย์ตามประเพณีนิยม พราหมณ์อีก ๒ คน จะได้เป่าสังข์ตีไม้บัณเทาะว์ตลอดจนเสร็จพิธี แล้วพราหมณ์จะได้ส่งเด็กให้กับพี่เลี้ยงนางนมนำไปแต่งตัว เมื่อพระฉันและถวายของพระๆ กลับแล้ว จะได้ทำขวัญและลงเปลต่อไป พราหมณ์จะได้จัดเปลและเบาะนำเครื่องพิธีใส่ลงในเปล คือถุง, ถั่ว, ข้าวเปลือก, ถั่วเขียว, งา, เมล็ดผัาย สิ่งของเหล่านี้ใส่ถุงแพรสต่างๆ หินบดทั้งแม่และลูก พักเชียว ๑ ผล อาบน้ำทาแป้งเสียให้ขาว ถ้าเป็นชายก็ใส่สมุดดินสอและพระราชบัญญัติ ถ้าเป็นหญิงใส่ด้ายเข็มแค๊ตล๊อกแบบเย็บบักถ้กร้อย พราหมณ์จะได้ทำพิธีเอาบายศรีปากชามมาใส่ในข้นข้าวสารสำหรับ ผักแว่นเวียนเทียน มีเครื่องกระยาบวด สำรับ กระแจะ ๑ โถ แล้วพี่เลี้ยงนางนม จึงนำเด็กมานั่งในมณฑลพิธีพร้อมทั้ง่วงศ์ญาติทั้งปวง ” บิดามารตานังล้อมเป็นวงเพื่อเวียนเทียนพราหมณ์ พราหมณ์อ่านเวทย์เบิกแว่นเอียนเทียนออกข้างซ้ายมาข้างขวาครบ ๓ หน จะได้อ่าน เวทย์ ดับเทียนชัย์โบกควัน สมมติว่าได้พรหมจรรย์เป็นมงคลแล้วเอาด้ายสายสิญจน์วาดปัดเคราะห์ โศกโรคภัยเสนียดจัญไรวินาศสันติ (วาตบัดออกทางปลายมือ) ข้างละ ๓ ที แล้วเอาด้ายสายสิญจน์นั้นเผาไฟแล้วใช้ด้ายสายสิญจน์ที่เศกด้วยพระเวทย์ (วาดบัดเข้าทางต้นข้อมือ) ผูกข้อมือเด็กทำขวัญให้มีศรีสวัสดิ์พิพัฒน์มงคลจงทุกประการของร้ายกลายดี แล้วเอา กระแจะจุณเจิมเบ็นอุณาโลมอวยพรให้เด็กอยู่เบ็นสุขวัฒนาถาวร ต่อจากนี้บิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย วงศ์ญาติของเด็กที่ได้เชิญมาก็จะได้เข้ามาผูกมือทำขวัญเด็กไปตามลำดับ เสร็จแล้วพราหมณ์ เอาสังข์หลังน้ำมนต์ลงที่เปลก่อน แล้วเอาใบมะตูมวางในเปล เอากระแจะเขิมที่หัวนอนเปล นำถุงถั่วต่างๆ อ่านเวทย์แล้ววางไว้ข้างเปลทั้งสองข้าง เอาหินบควางข้างหนึ่ง พักวางข้างหนึ่งแล้วเอาแมวที่แต่งตัวไว้ลงเปลเสียก่อน มีความหมายให้เด็กนั้นงอกงามเกิดมูลพูลเขาเหมือนถั่วให้เนื้อเย็นเหมือน พัก ให้หนักเหมือนหิน ให้รู้อยู่เหมือนแมว และกวรจะเตรียมตั้งชื่อเด็กเสียแต่ก่อนวันพิธี ตั้งชื่อตามอักษรวันจึงจะตี เช่น เกิดวันอาทิตย์ ควรตั้งชื่อจำพวก (อ) นำหน้าจะไม่ทำให้เบ็นกาลกิณีชื่อหลายตัว, อย่างตำราของรัชกาลที่ ๔ ดี เป็นมงคลแก่เด็ก ถ้าจะตั้งชื่อให้เบ็นเดช เบ็นศรี เบ็นมนตรี ต้องหารือโหรจะได้ชื่อที่ถูกต้องตามชาตาของเด็ก การเอาอักษรเดชนำหน้าโดยมากตั้งชื่อเด็กชาย เพราะหมายถึงเตชานุภาพ ถ้าอักษรที่เบ็นศรี นำหน้ามักตั้งชื่อเด็กหญิง เพราะหมายถึงศิริมงคล เมื่อหาชื่อเด็กได้แล้ว เขียนใส่กระดาษใส่กรอบหรือจะไม่ใส่ก็ได้ตั้งไว้ในพิธี เมื่อถึงเวลาจะนำเด็กลงเปลเอาชื่อวางลงในเปลด้วย เมื่อพราหมณ์อ่านเวทย์จะได้กล่าวชื่อเด็กเป็นมงคล เมื่อเอาแมวออกจากเปลแล้ว พราหมณ์จึงอุ้มเด็กลงนอนในเปลไกว ๓ ที ขณะนี้พราหมณ์อีกสองคนเบำาสังข์ ดีไม้บัณทาะว์เบ็นมงคล ฤกษ์และอวยชัยกล่าวชื่อเด็กเห่กล่อมให้ศีลให้พร พวกวงศ์ญาติทั้งหลายจะได้นำสิ่งของเงินทองมาทำขวัญเด็กในเวลานี้ จะผูกมือหรือจะใส่ลงในเปลก็ ได้เบ็นเสร็จการพิธี
สิ่งของที่ควรเตรียมไว้ใช้ในพิธี
ทำขวัญเดือน, โกนผมไฟ, ตังชื่อ,
(๑) จัดต้งโต๊ะพระพุทธ
(๒) ขันน้ำมนต์
(๓) ใบบัวเย็บเบ็นกระทงรองใบบอนใส่พานไว้
(๔) กระแจะผสมน้ำมันหอม ๑ โถเล็ก
(๕) ใบมะตูม หญ้าแพรก
(๖) สังข์มังสี
(๗) น้ำดอกไม้สดไว้อาบน้ำเด็ก
(๘) มีดโกนและกรรไตร กรรบิด
(๙) แหวน 1 ว่ง ใส่ลงในอ่างน้ำเมื่อเวลานำเด็กลงอาบ หมดอาย 01/12/2
(๑๐) เสื้อเด็ก ผ้าเช็ดตัว แป้ง
(๑๑) มะพร้าวอ่อน ๑ ลูก ปอกฝานไว้ให้งาม
(๑๒) กระดาษเขียนชื่อที่ตั้งให้เด็ก
(๑๓) ขนมต้มแดงต้มขาว กับขนมอื่นอีกพอสมควร ใส่สำรับหรือตลุ่มก็ได้
(๑๔) บายศรีปากชาม
(๑๕) สายสร้อยยาว ๆ สำหรับชักเปล ๑ สาย
(๑๖) ถุงแพรใส่ข้าวเปลือก ๑ ถุง ถั่วเขียว ๑ ถุง งาดำ ๑ ถุง เมล็ดผ้าย ๑ ถุง ข้าวตอก ๑ ถุง รวม ๕ ถุง สำหรับใส่เปล
(๑๗) เปลเด็ก เบาะ ผ้าปูเบาะ
(๑๘) แว่นเทียน ๓ แว่น
(๑๙) มะพร้าวห้าวทั้งเปลือก ที่งอกยาว ๆ บีดทองบีดเงินไว้สำหรับปลูกต่าง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทอง
(๒๐) ข้นใส่ข้าวสำหรับบักแว่น ๑ ขัน
(๒๑) เทียนสำหรับติดแว่น ๆ ละ ๓ เล่ม รวม ๙ เล่ม ใบพลู ดับเทียน ๗ ใบ
(๒๒) เทียนชัย ๑ เล่ม
(๒๓) แมว ๑ ตัว แต่งตัวประดับอาภรณ์
(๒๔) หินบด ๑ ทั้งแม่ทั้งลูก
(๒๕) พัก ๑ ลูก ทาแมั่งไว้ให้ขาว
(๒๖) สมุดดินสอ
(๒๗) พราหมณ์สำหรับพิธี ๓ คน
(๒๘) ของถวายตอนเย็น ถวายหมากพลู เรียกหมากมัดจำ ตอนเช้าตักบาตร ต้องมีของฝ่าบาตร เครื่องถวายพระเช่นดอกไม้ธูปเทียน ใบชา บุหรี่ ไม้ขีดไฟ หมากพลู จะเพิ่มบริขารอื่นอีกก็ ได้แล้วแต่ศรัทธา
(๒๙) ด้ายสายสิญจน์สำหรับผูกข้อมือเด็ก และพระถือสวดมนต์
(๓๐) กับข้าวคาวหวานไว้เลี้ยงพระและวงศ์ญาติ
(๓๑) คนตัดผมเด็ก แล้วแต่บิดามารดาจะเลือกเชิญ
(๓๒) คนนำหม้อรกไปผั่ง และนำมะพร้าวไปปลูก
(๓๓) อ่างอาบน้ำเด็ก
(๓๔) ช่างโกนผม